Peace Culture Foundation - Aikido in Chiang Mai

View Original

ทำความรู้จัก ยุทธศาสตร์การป้องกันความรุนแรงต่อเด็กของ WHO "Ending Violence Against Children": INSPIRE

INSPIRE คืออะไร?

"INSPIRE" คือ ยุทธศาสตร์ที่ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child; CRC) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น ช่วยให้ประเทศและชุมชนให้ความสำคัญกับโปรแกรมป้องกันที่มีศักยภาพในการลดความรุนแรงต่อเด็ก โดยเป็นแนวทางที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงระดับรากหญ้า จากภาคประชาสังคมไปจนถึงภาคเอกชน ให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง

I: Implementation and enforcement of laws (การบังคับใช้กฎหมาย)

ตรวจสอบว่ามีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก ลดการใช้แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และจำกัดการเข้าถึงอาวุธปืนและอาวุธอื่นๆ ของเยาวชน

  • กฎหมายห้ามการลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงโดยผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแลคนอื่นๆ

  • กฎหมายว่าด้วยการล่วงละเมิดทางเพศและการแสวงประโยชน์จากเด็ก

  • กฎหมายป้องกันการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิด

  • กฎหมายจำกัดการเข้าถึงอาวุธปืนและอาวุธอื่นๆ ของเยาวชน

N: Norms and values (บรรทัดฐานและค่านิยม)

เสริมสร้างบรรทัดฐานและค่านิยมที่สนับสนุนความสัมพันธ์เชิงบวกที่ให้เกียรติ หล่อเลี้ยงซึ่งกันและกัน และมีความเท่าเทียมทางเพศในเด็กและวัยรุ่นทุกคน

  • การเปลี่ยนแปลงการยึดมั่นในบรรทัดฐานทางสังคม รวมถึงบรรทัดฐานทางเพศที่เข้มงวดและเป็นอันตราย

  • การเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชน

  • การแทรกแซงของผู้เห็นเหตุการณ์ (Bystanders)

S: Safe Environment (สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย)

สร้างและรักษาสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสังคมที่ปลอดภัยที่เด็กและเยาวชนสามารถมารวมตัวและใช้เวลาร่วมกัน

  • ลดความรุนแรงด้วยการพูดถึง “hotspots”

  • ขัดขวางการแพร่กระจายของความรุนแรง

  • ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น

P: Parent and caregiver support (การสนับสนุนจากพ่อแม่ผู้ปกครอง)

ลดแนวทางการเลี้ยงดูที่รุนแรง ไม่เหมาะสม รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก

  • การเยี่ยมบ้าน

  • ดำเนินการในพื้นที่ชุมชน ร่วมกับคนในชุมชนจริง

  • การใช้โปรแกรมในการดูแล ป้องกัน และจัดการกับความรุนแรงอย่างครบวงจร

I: Income and economic strengthening (รายได้และความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ)

ช่วยเหลือเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว ลดการกระทำทารุณเด็ก และความรุนแรงระหว่างคู่ครอง

  • การโอนเงินสด

  • กลุ่มออมทรัพย์และสินเชื่อควบคู่ไปกับการฝึกอบรมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

  • ใช้ระบบ Microfinance ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมเรื่องเพศภาวะ (Gender)

R: Response and support services (บริการตอบกลับและการสนับสนุน)

ปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม และกระบวนการยุติธรรมที่มีคุณภาพ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือสำหรับเด็กทุกคนที่เผชิญกับความรุนแรง เพื่อลดผลกระทบระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น

  • การให้คำปรึกษาและแนวทางการรักษาทางจิตวิทยา

  • การตรวจคัดกรองร่วมกับการแทรกแซง (Intervention)

  • โปรแกรมการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดทางอาญาซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน

  • การดูแลอุปถัมภ์และบริการสวัสดิการสังคม

E: Education and life skills (การศึกษาและทักษะชีวิต)

เพิ่มการเข้าถึงการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ การเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ รวมถึงการฝึกอบรมทักษะชีวิต

  • เพิ่มการลงทะเบียนเรียนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

  • สร้างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ปลอดภัย และเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็ก

  • พัฒนาความรู้ของเด็กเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงวิธีป้องกันตนเอง

  • อบรมทักษะชีวิตและสังคม

  • โปรแกรมป้องกันความรุนแรงในคู่รักวัยรุ่น