International Day to #EndCorporalPunishment
(English translation below)
การเฆี่ยนตีหรือทำร้ายร่างกายยังเป็นรูปแบบการใช้ความรุนแรงต่อเด็กที่พบได้บ่อยที่สุด มีการสำรวจพบว่าทั่วโลกในแต่ละปีจะมีเด็กประมาณ 4 ใน 5 คนในช่วงอายุ 2-14 ขวบ ที่ถูกกระทำความรุนแรงที่บ้าน (ทั้งจากการถูกลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายและจากการใช้ความรุนแรงทางจิตใจ) ในประเทศไทยเด็กไทยก็ถูกกระทำเช่นเดียวกันนี้อย่างแพร่หลาย การสำรวจในระดับประชากรล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเด็กร้อยละ 75 ถูกลงโทษอย่างน้อยหนึ่งวิธีในเดือนที่ผ่านมา (สำนักงานสถิติแห่งชาติและองค์กรยูนิเซฟ พ.ศ. 2559)
การลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กส่งผลเสียอย่างมหาศาล และมีผลข้างเคียงที่เลวร้ายอย่างรุนแรง การวิจัยในเรื่องนี้แสดงให้เห็นหลักฐานชัดเจนว่าการลงโทษเด็กที่รุนแรงมีความสัมพันธ์กับผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเด็กและต่อสังคมหลายแบบ เช่น ผลเสียต่อสุขภาพจิตเด็ก เพิ่มความเสี่ยงต่อการทำร้ายตัวเองและการฆ่าตัวตาย ทำให้เด็กมีปัญหาพฤติกรรมมากขึ้น ผลการเรียนที่แย่ลง และความเสี่ยงต่อการประกอบอาชญากรรมเพิ่มขึ้น การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงยังส่งผลเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากอีกด้วย จากการวิจัยของยูนิเซฟโดยนักเศรษฐศาสตร์ระดับผู้นำพบว่าในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการลงโทษเด็กแบบนี้มีมูลค่าสูงถึง 206 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในหนึ่งปี คิดเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของเขตพื้นที่นี้ (Fang et al., 2015)
การลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเป็นการละเมิดสิทธิเด็กซึ่งควรได้รับความเคารพต่อศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์และความปลอดภัยต่อร่างกาย สิทธิที่จะมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการที่ดี ได้รับการศึกษาและปลอดภัยจากการถูกทรมานและการถูกปฏิบัติหรือถูกลงโทษที่เป็นการทารุณ ไร้มนุษยธรรม และลดทอนคุณค่าในตนเอง
โดยรวมแล้วทั่วโลกจะมีเด็กเพียงร้อยละ 14 ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเต็มที่จากการถูกลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกาย ในประเทศไทย การลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กในบ้าน ในสถานสงเคราะห์ และในศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์พัฒนาการเด็กยังสามารถทำได้ตามกฎหมายอยู่ และแม้ว่าจะมีการห้ามเฆี่ยนตีเด็กในสถานศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 แล้ว ปัจจุบันครูจำนวนมากก็ยังเฆี่ยนตีนักเรียนอยู่ การยอมรับการเฆี่ยนตีเด็กในสังคมยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นช่องทางไปสู่การปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรุนแรงในรูปแบบอื่น ๆ อีก ในฐานะสมาชิกที่เล็กที่สุดในสังคมเด็กควรจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการถูกทำร้ายให้มากกว่านี้
แต่อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าในเรื่องนี้เป็นไปได้และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อสี่สิบปีมาแล้ว มีเพียงประเทศเดียวในโลกที่ออกกฎหมายห้ามตีเด็ก ในปัจจุบันมี 63 ประเทศแล้วที่มีกฎหมายห้ามตีเด็กซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการคุ้มครองและรักษาสิทธิของเด็ก การห้ามตีเด็กในประเทศต่าง ๆ และในสถานที่ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการปฏิรูปกฎหมายและบังคับใช้อย่างจริงจัง การยอมรับการลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงในสังคมก็จะลดลง
รัฐมีพันธสัญญาที่จะต้องยุติความรุนแรงต่อเด็กตามเป้าหมายข้อ 16.2 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อที่จะยุติการลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายให้ได้ในปี พ.ศ. 2573 เราจะต้องนำพันธสัญญานี้เข้าสู่การปฏิบัติจริงอย่างเร่งด่วน เพื่อห้ามและกำจัดการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กในทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย วันยุติการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กนานาชาติ ในวันที่ 30 เมษายนนี้ เป็นโอกาสที่เราจะเรียกร้องให้รัฐกระทำการอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเพื่อเด็กและเพื่อสังคม
มูลนิธิศานติวัฒนธรรมขอถือโอกาสในวันยุติการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กนานาชาติ ประชาสัมพันธ์ โครงการขยายงานการเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิตในประเทศไทย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Global Parenting Initiative ภายใต้การนำของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด โดยทุนสนับสนุนจาก LEGO Foundation และ World Childhood Foundation โดยมีจุดประสงค์เพื่อขยายงานจากผลการวิจัยเรื่องการเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิตสำหรับเด็กเล็กในประเทศไทย หลักสูตรการอบรมนี้ได้มีการทำวิจัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าสามารถลดการลงโทษด้วยการทำร้ายร่างกายเด็กในบ้าน และปรับปรุงความสามารถในการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกของผู้ปกครองได้ โปรดดูวิดีโอสั้น ๆ นี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
* * *
Corporal punishment remains the most common form of violence against children. Worldwide around 4 in 5 of all children aged 2-14 years are subjected to it in their home every year (physical punishment and/or psychological aggression). In Thailand, such abuse is similarly widespread, with the most recent, population-based study showing that 75% of children experienced at least one form of such punishment during the past month (National Statistical Office & UNICEF, 2016).
Corporal punishment is costly and has serious adverse effects. Research has found strong evidence connecting violent punishment and other forms of violence against children with multiple harmful impacts for the child and society, including poorer child mental health, increases in self-harm and suicidality, increases in child behaviour problems, poorer educational achievement, and higher levels of criminality. It also has significant economic costs. In our region of East and Southeast Asia, a UNICEF study by a leading health economist found that violence against children amounted to a total loss of US$ 206 billion in one year – or 2% of regional GDP (Fang et al., 2015).
Corporal punishment violates children’s right to respect for their human dignity and physical integrity, as well as their rights to health, development, education and freedom from torture and other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment.
Globally, only 14% of children are fully protected by law from corporal punishment. In Thailand, corporal punishment is still legal in homes, alternative care settings, and in day care and early childhood development centres. In addition, while corporal punishment has been prohibited in Thai schools since 2000, it remains prevalent. Its widespread social acceptance means violence in childrearing is normalised, entrenching children’s low status in society and opening the door to other forms of violence and mistreatment. As the smallest and most vulnerable members of society, children deserve more, not less, protection from assault.
However, progress is possible and accelerating. Forty years ago, only one country had passed a law banning corporal punishment, but today 63 have taken this fundamental step in protecting children and upholding their rights. Prohibition in different countries and settings continues to grow. And there is evidence that when law reform is well implemented it is followed by an ongoing reduction in the acceptance and use of violent punishment across society.
Governments have committed to ending violence against children in Sustainable Development Target 16.2. To end corporal punishment by 2030, this commitment must be urgently translated into action to prohibit and eliminate corporal punishment everywhere, including in Thailand. The International Day to #EndCorporalPunishment on 30 April is our opportunity to call for urgent action to achieve a transformative change for children and society.
Here at the Peace Culture Foundation, we would like to use this occasion of The International Day to #EndCorporalPunishment to announce the launch of the Scaling up Parenting for Lifelong Health in Thailand Project. This project, part of the Global Parenting Initiative led by the University of Oxford and funded by the LEGO Foundation and the World Childhood Foundation, aims to scale up the evidence-based Parenting for Lifelong Health for Young Children programme in Thailand. This programme has been shown through a recent trial in Northeastern Thailand to effectively reduce rates of corporal punishment in the home and improve positive parenting. Please see the video above to learn more!